วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประวัติ อำเภองาว

อำเภองาวเดิมมีชื่อว่า เมืองเงิน เป็นหัวเมืองหลักเมืองหนึ่งของอาณาจักรล้านนา มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของเมืองเขลางค์นคร (ลำปาง) เมืองเงินในอดีตมีเจ้าผู้ครองนครที่เข้มแข็งชำนาญการสงคราม มีความเชี่ยวชาญในการรบ โดยใช้ของ้าวเป็นอาวุธสำคัญ เมื่อข้าศึกจากหัวเมืองลื้อหัวเมืองเขินเข้ามารุกรานก็ไม่อาจรุกล้ำเข้าไปถึงเมืองเขลางค์นครได้ เพราะเมื่อมาถึงเมืองเงินก็ถูกตีแตกพ่ายไปทุกครั้ง เจ้าเมืองเงินได้อาสาปราบปรามข้าศึก พวกฮ่อ เงี้ยว ที่มารุกรานถึงหัวเมืองเงี้ยว หัวเมืองลื้อ หัวเมืองเขิน จนถึงแคว้นสิบสองปันนา ได้รับชัยชนะจนเป็นที่ร่ำลือ เจ้าเมืองเขลางค์นครได้ประทานง้าวด้ามเงินเป็นบำเหน็จคุณงามดีและความกล้าหาญ เป็นที่ยินดีแก่ชาวเมือง จึงเรียกเจ้าเมืองว่า พระยาง้าวเงินและเรียกชื่อเมืองว่า เมืองง้าวเงิน กาลเวลาผ่านมาได้เรียกเพี้ยนเป็น เมืองงาว ตามลำดับ
อีกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เมืองงาวเป็นสถานที่ประทับและสวรรคตของพ่อขุนงำเมือง เจ้าเมืองพะเยา สหายร่วมน้ำสาบานกับสองมหาราชคือ พญามังรายมหาราชแห่งนครเชียงใหม่และพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัย ตามตำนานกล่าวไว้ว่า "เมื่อพ่อขุนงำเมืองได้มอบราชกิจต่าง ๆ ในการปกครองบ้านเมืองให้พญาคำแดงราชบุตร แล้วเสด็จได้ไปประทับพักผ่อนที่เมืองงาว ปี พ.ศ. 1841 พ่อขุนงำเมืองก็สิ้นพระชนม์ รวมพระชนมายุได้ 60 ปี"

Image result for รูปอำเภองาว


Image result for รูปอำเภองาว

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%A7

อาหารพื้นเมือง

อาหารพื้นเมือง



        การทำ
    ก่อนอื่นต้องมาดูก่อนว่ามีส่วนผสมอะไรบ้าง หน่อไม้ 5 หาง ใบแมงลัก 3 ยอด ใบขิง 3 ใบ เม็ดบ่ะก๊าก 5 เม็ด พริกขี้หนูย่าง 10 เม็ด กระเทียมย่าง 7 เม็ด ปลาร้าต้มสุก 2 ช้อนโต๊ะ น้ำปู 1 ช้อนโต๊ะ เกลือ ½  ช้อนชา ผักชีซอย ต้นหอมซอย
                การทำยำหน่อไม้ไม่ยากเพียงแค่ นำหน่อไม้ไล่มาต้มให้สุกจนมีรสหวาน นำมายำกับเครื่องปรุง นิยมใส่น้ำปู ใบขิงหั่น เม็ดบ่ะก๊าก หรือไพล (ปูเลย) และต้มปลาร้าสับ จากนั้นจึงนำมาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุง
แกงฮังเล


  

   วิธีการทำ

อย่างแรกที่ต้องทำคือ หั่นหมูสามชั้นเป็นชิ้นใหญ่พอสมควร  เคล้าด้วยซีอิ๊วดำหมักไว้  แล้วเคล้าเครื่องแกงกับหมูเข้าด้วยกัน หมักไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นใส่หมูลงในหม้อ ใช้ไฟอ่อนๆผัดพอหมูตึงตัว ใส่น้ำลงในหม้อ ปิดฝา ตั้งเคี่ยวไปเรื่อยๆ แล้วใส่ขิงซอย ถั่วลิสงคั่ว กระเทียมที่ปอกเปลือกเป็นกลีบ ใส่ผงแกงฮังเลหรือผงกะหรี่ ตั้งเคี่ยวจนหมูนุ่ม และน้ำงวด สิ่งสุดท้ายปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียก ชิมรสให้ได้ 3 รส เปรี้ยว เค็ม เผ็ด ถ้าอ่อนเค็มให้เติมเกลือ

  ข้าวแต๋นลำปาง


  


       วิธีการทำ




เริ่มจากเราต้องเตรียมอุปกรณ์ แบบพิมพ์ ทำจากไม้ไผ่ หรือท่อพีวีซี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 นิ้ว สูง 1 เซนติเมตร จากนั้นก็นำ แตงโม 1 ลูก มาคั้นเอาแต่น้ำ แล้วนำไปผสมน้ำเปล่าให้ได้ 4 แก้ว ใส่เกลือ น้ำอ้อยผง งาขาว(ถ้ามี) คนให้เข้ากัน เก็บใส่ภาชนะไว้ (ควรทำก่อนนี้งข้าว) (ถ้าไม่มีแตงโม อาจเป็นน้ำผลไม้ชนิดอื่นก็ได้ เข่น มะม่วง หรือผลไม้ตามฤดูกาล) จากนั้นก็นำข้าวสาร(ข้าวเหนียว) มาแช่น้ำ 1 คืน นึ่งให้สุก พักไว้ให้เย็น แล้วนำมาคลุกกับ น้ำแตงโมที่เตรียมไว้แล้ว ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีแล้วน้ำไปกดลงในพิมพ์ ไห้แน่นพอสมควร เมื่อทำเสร็จแล้วนำข้าวออกจากพิมพ์ วางบนตะแกรง แล้วนำไปตากแดด ประมาณ 1 วันครึ่ง เมื่อแห้งแล้ว เก็บใส่ถึง มัดปากถุงให้แน่น จากนั้นใส่น้ำมันพืชให้เต็มกระทะ ตั้งไฟให้ร้อนจัด เอาข้าวที่จากแห้งแล้วลงทอด ประมาณ 40 วินาที ข้าวแต๋นจะลอยขึ้น ให้ตัดออก นำมาวางบนตะแกรง เพื่อสะเด็ดน้ำมัน และพักไว้ให้เย็นจากนั้นนำน้ำตาลปี๊บ เคียวไฟให้ตกทราย (ให้ละลายพอหยอดหน้าข้าวแต๋นได้) พักไว้ให้เย็นพอประมาณ แล้วนำมาหยดลงบนข้าวแต๋น นิยมหยอดเป็นวงกลมตามรูปข้าวแต๋น แผ่นหนึ่งอาจหยอดน้ำตาล 3-4 วง ขั้นตอนสุดท้ายคือใช้ถุงพลาสติกสำหรับใส่อาหาร ขนาดที่ต้องการบรรจุขาย ถ้าจะให้ดี ปิดปากถุงให้มิดชิด กันลมเข้า วิธีง่ายๆ ไล่ลมออกจากถุง แล้วลนไฟจากเทียนไข หรือตะเกียงก็ได้



แกงผักหวาน


  

     วิธีการทำ


 ถ้าอยากให้แกงผักหวานอร่อยเราก็ต้องมาดูเครื่องปรุงก่อนว่ามีอะไรบ้าง ผักหวานป่า 2 กำ เด็ดเอาแต่ส่วนอ่อนๆสิได้กินง่ายๆ ล้างน้ำไว้เลยจ้า และล้างใบแมงลัก กับ ผักหวาน และไข่มดแดง 1ถุง ไว้เหมือนกันจ้าว พริกสดสัก 3-4 ลูก นอกจากนี้แล้วยังมี กระเทียม หอมแดง ตะไคร้หั่น 2 ต้น ข่าหั่นสัก 3 แว่น เพิ่มความอร่อยด้วยปลาร้าและน้ำปลา
จากนั้นโขลกเครื่องปรุง พอหยาบๆค่ะ ไม่ต้องละเอียดมาก เอาน้ำใส่หม้อตั้งไฟ พอเดือดใส่เครื่องพริกแกง ในหม้อแกงพอปลาร้าเดือดก็ปรุงรสให้พอดี แล้วใส่ไข่มดแดง สุดท้ายใส่ผักหวาน ใบแมงลัก ปิดไฟกินได้แล้วคร้า กินกับข้าวนึ่งร้อนๆ ยิ่งอร่อยเน้อ

http://www.paiduaykan.com/province/north/lampang/ngao.html

ที่ตั้ง

อำเภองาว จังหวัดลำปาง
อำเภองาวตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด เป็นอำเภอชายแดนติดกับจังหวัดพะเยาและจังหวัดแพร่ ที่ว่าการอำเภอปัจจุบันตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธิน สายลำปาง-พะเยา บริเวณบ้านหนองเหียง ห่างจากตัวเมืองลำปางประมาณ 83 กิโลเมตร จากตัวเมืองพะเยาประมาณ 50 กิโลเมตร และจากตัวเมืองแพร่ประมาณ 89 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

สถานที่ท่องเที่ยว

สะพานโยง
สะพานโยงหรือสะพานลอยเป็นสะพานข้ามแม่น้ำงาว เป็นสะพานแขวนแห่งแรกของประเทศไทย
ปัจจุบันได้เลิกใช้แล้วเนื่องจากมีการตัดถนนเข้าสู่เมืองไม่ให้รถวิ่งแล้วตัวสะพานโยงเป็นไม้กับเหล็ก 
สะพานโยงตั้งอยู่ใจกลางเมือง เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญ ของเมืองงาวที่ชาวเมืองงาวภาคภูมิใจ






วัดจองคำ  บลบ้านหวด บนถนนสายลำปาง-งาว ห่างจากตัวอำเภองาว 10 กิโลเมตร วัดจองคำเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง สถาปัตยกรรมก่อสร้างโดดเด่นเป็นสง่า เป็นศิลปะแบบไทยใหญ่ ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด ตัววิหารชัยภูมิศิลปะแบบไทย ใหญ่หลังเดิมถูกรื้อย้ายมาไปไว้ ณ เมืองโบราณจังหวัดสมุทรปราการหลังที่เห็นปัจจุบันเป็น ศิลปะที่สร้างขึ้นมาใหม่ใน เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีได้มีการยกวัดราษฎร์ขึ้น เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ วัดจองคำได้รับคัดเลือกให้เป็นพระอารามหลวงแห่งใหม่ในจังหวัดลำปาง และเป็นโรงเรียน สอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดลำปาง แต่ละปีนักเรียนปริยัติธรรมสามารถสอบเปรียญธรรมบาลีได้หลายประโยคจนถึง ป.ธ.9 ได้รับพระราชทานอุปสมบทเป็นนาคหลวงจำนวนมาก เจ้าอาวาสและเจ้าสำนักได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นราช ในราชทินนามว่าพระราชปริยัติโยดม



วัดจองคำ งาว



น้ำตกแม่แก้ น้ำตกแม่แก้ ตั้งอยู่ในเขต บ้านแม่แก้ อำเภองาว จังหวัดลำปาง เป็นน้ำตกขนาดเล็กตั้งอยู่บริเวณ เป็นน้ำตกหินปูนที่มีความสวยงาม อีกแห่งหนึ่งของอำเภองาว สูงประมาณ 10เมตรและยังมีชั้นเล็ก ๆ อีก 6 - 7ชั้น มีความอุดมสมบูรณ์ทางระบบนิเวศน์มาก







น้ำตกเกาฟุ น้ำตกเกาฟุ อยู่ที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง อยู่ไม่ไกลจากน้ำตกแม่แก้ เป็นน้ำตกที่สวยงามที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ โดยใช้เวลา สร้างนานนับสิบปี ที่นี่เป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ ชื่อของน้ำตกตั้งตามชื่อชาวไทยภูเขา ชื่อ เกาฟุ ซึ่งเป็นคนพบน้ำตกนี้เป็นคนแรก








หล่มภูเขียว ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท เป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่อยู่บนภูเขา มีเนื้อที่ประมาณ 1-2 ไร่ มีลักษณะคล้ายปล่องภูเขาไฟ น้ำในแอ่งลึกมากจนมองเห็นเป็นสีเขียว มีปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก สภาพป่าเป็นป่าดิบแล้งมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก การเดินทาง หล่มภูเขียวอยู่ห่างจากทางหลวงแผ่นดินดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) จากเส้นทางสายลำปาง-พะเยา เข้าไป ประมาณ 14 กิโลเมตร ซึ่งเป็นทางแยกไปสู่หมู่บ้านอ้อน อำเภองาว จังหวัดลำปาง เส้นทางเป็นทางลูกรัง จากบ้านอ้อน มีทางเดินเท้าไปหล่มภูเขียว;ระยะทางประมาณ 3.5 กิโลเมตร



หมู่บ้านชาวเขา  ชมวัฒนธรรมวิถีชีวิตของชาวเขา รวมทั้งการแสดงชนเผ่าของชนเผ่าอาข่า  บ้าน ป่ากล้วย




อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท ตั้งอยู่ระหว่างอำเภอเมืองลำปางกับอำเภองาว ห่างจากตัวเมืองประมาณ 66 กิโลเมตร ตรงกิโลเมตรที่ 768-769 แยกเข้าทางลูกรัง ประมาณครึ่งกิโลเมตร รถยนต์เข้าถึงเชิงถ้ำภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก สลับซับซ้อนและมีถ้ำเล็กถ้ำน้อยมากมายที่มี ความสวยงามแตกต่างกันไปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยเสด็จประพาสถ้ำผาไทในครั้งนั้นได้จารึกพระปรมาภิไธย ย่ปปร. ไว้ภายในถ้ำเพื่อเป็นที่ระลึกในการเสด็จประพาส นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชม ทางอุทยานฯ ไม่มีบ้านพักบริการ รายละเอียดให้ติดต่อฝ่ายจัดการอุทยานแห่งชาติ

การเดินทาง ถ้ำผาไทตั้งอยู่บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 เป็นเส้นทางจากตัวลำปาง-เชียงราย อยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 665 ห่างจากตัวจังหวัดลำปางมาทางจังหวัดพะเยา ประมาณ 65 กิโลเมตร หรือจะเดินทางโดยใช้เส้นทางสาย แพร่-งาว-เชียงราย ก่อนถึงอำเภองาว แยกซ้ายเข้าสู่จังหวัดลำปางประมาณ 15 กิโลเมตรถึงที่ทำการอุทยานฯ






พิพิธภัณฑ์หนังกลางแปลง พิพิธภัฑ์ภาพยนตร์ย้อนยุคซึ่งสร้างคุณโดย คุณมานิตย์ วรฉัตร  ด้วยเงินทุนของตนเอง ในอดีตคุณมานิตย์เคย ทำงานเป็น นักพากย์หนังกลางแปลงมาแล้วมากมาย รวมทั้งเป็นทีมงานพากย์พันธมิตร ที่ให้เสียงพากย์ภาพยนตร์มากมาย ภายในพิพิธภัณฑ์ เป็น ลที่เก็บรวบรวมภาพบนตร์ไทยเรื่องดีและดัง  โปสเตอร์หนัง รวมทั้งอุปกรณ์ในการฉายหนังกลางแปลง ประเภทต่างๆ 





 ศาลเจ้าพ่อประตูผา อยู่ห่างจากตัวจังหวัดลำปางตามเส้นทางสายลำปาง-งาวประมาณ 50 กิโลเมตร ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 649-650 ศาลตั้งอยู่ริมถนน ใหญ่ด้านขวามือ เป็นศาลเล็กๆ ก่ออิฐถือปูน ภายในมี รูปปั้นเจ้าพ่อประตูผา และเครื่องบูชามากมาย บริเวณใกล้เคียงมี ศาลพระภูมิ เล็กๆ มากมายเรียงรายอยู่ ศาลเจ้าพ่อประตูผา นี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ที่สัญจรไปมาบนเส้นทางนี้มักแวะนมัสการและ จุดประทัดถวาย เจ้าพ่อประตูผา เดิมชื่อ พญาข้อมือเหล็ก เป็นผู้อยู่ยงคงกระพัน เป็นทหารเอก ของเจ้าผู้ครองนครลำปาง ครั้งหนึ่ง ได้ทำการ ต่อสู้กับพม่าที่ช่องประตูจนกระทั่งถูกรุมแทงตายในลักษณะถือดาบคู่ ยืนพิงเชิงเขาทหารพม่า กลัวจึงไม่กล้าบุกเข้าไปตี นครลำปาง ด้วยเหตุนี้เอง ชาวบ้านจึงเกิดศรัทธา และเคารพ สักการะโดย ตั้งศาลขึ้นบูชา




ภาพเขียนสีโบราณประตูผาระยะทาง 48 กิโลเมตร จากลำปาง บนถนนไฮเวย์ลำปาง-เชียงราย เป็นที่ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาและ หน้าผาสูงชัน ซึ่งเป็นที่มาของ ชื่อ "ประตูผา" เส้นทางสัญจร แต่โบราณไปมาสู่ล้านนาตะวันออก และยังเป็น จุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญทั้งใน สงครามยุคโบราณ กับพม่าและในสงครามโลก บนหน้าผาและบริเวณใกล้เคียงมีการค้นพบ ภาพเขียนสีและแหล่ง ฝังศพของคนในยุคก่อน ประวัติศาสตร์ อายุประมาณกว่า 3,000 ปีมาแล้ว ขณะนี้ทางภาครัฐ ท้องถิ่นและเอกชน ในจังหวัด กำลังร่วมกันจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและศึกษาด้านประวัติศาสตร์ และโบราณคดี






ประเพณี

ประเพณีตุงซาววา เป็นประเพณีที่สำคัญและสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณของอำเภองาว คำว่าซาว” เป็นภาษาพื้นเมืองของภาคเหนือ แปลว่า ยี่สิบ” ดังนั้น คำว่า ตุงซาววา ก็คือ ตุงที่มีความยาว 20 วา ประเพณีตุงซาววาจัดขึ้นเพื่อเป็นการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับเจ้านางสัปปะกิ ซึ่งเป็นผู้ครองเมืองที่เสียสละปกป้องเมืองง้าวเงิน (อำเภองาวในปัจจุบัน) ให้คงอยู่และมีความเจริญรุ่งเรือง และเป็นการเสี่ยงทายความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ประเพณีตุงซาววายังเป็นประเพณีที่ถือว่าเป็นการทำบุญร่วมกันของพี่น้องอำเภองาว เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตที่จะเริ่มศักราชใหม่หรือเริ่มต้นปีใหม่เมือง (เดือนเมษายนของทุกปี) สร้างความสามัคคีของคนในชุมชน และแสดงถึงการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และส่งเสริมประเพณีด้วย
ตุงตาน
ใช้ตุงในพิธีกรรมต่างๆ 1.เพื่อเป็นเครื่องหมายเพื่อแสดงถึงชัยชนะ ความปีติชื่นชม เกียรติยศ ความสำเร็จ 2.เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงที่ตั้ง สถานที่จับจอง 3.เป็นการอุทิศส่วนบุญกุศล แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อให้หลุดพ้นจากห้วงนรก 4.ใช้บูชาเทวดา ในพิธีสืบชะตา สะเดาะเคราะห์ 5.เป็นเครื่องหมายแห่เครื่องไทยทาน (ริ้วธง) เช่นตุงจ้อจ้าง และนำขบวนแห่ศพเข้าป่าช้า




 http://www.banmuang.co.th/oldweb/2013/03/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A7%E0%B8%B2/