สะพานโยง
สะพานโยงหรือสะพานลอยเป็นสะพานข้ามแม่น้ำงาว เป็นสะพานแขวนแห่งแรกของประเทศไทย
ปัจจุบันได้เลิกใช้แล้วเนื่องจากมีการตัดถนนเข้าสู่เมืองไม่ให้รถวิ่งแล้วตัวสะพานโยงเป็นไม้กับเหล็ก
สะพานโยงตั้งอยู่ใจกลางเมือง เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญ ของเมืองงาวที่ชาวเมืองงาวภาคภูมิใจ
วัดจองคำ บลบ้านหวด บนถนนสายลำปาง-งาว ห่างจากตัวอำเภองาว 10 กิโลเมตร วัดจองคำเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง สถาปัตยกรรมก่อสร้างโดดเด่นเป็นสง่า เป็นศิลปะแบบไทยใหญ่ ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด ตัววิหารชัยภูมิศิลปะแบบไทย ใหญ่หลังเดิมถูกรื้อย้ายมาไปไว้ ณ เมืองโบราณจังหวัดสมุทรปราการหลังที่เห็นปัจจุบันเป็น ศิลปะที่สร้างขึ้นมาใหม่ใน เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีได้มีการยกวัดราษฎร์ขึ้น เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ วัดจองคำได้รับคัดเลือกให้เป็นพระอารามหลวงแห่งใหม่ในจังหวัดลำปาง และเป็นโรงเรียน สอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดลำปาง แต่ละปีนักเรียนปริยัติธรรมสามารถสอบเปรียญธรรมบาลีได้หลายประโยคจนถึง ป.ธ.9 ได้รับพระราชทานอุปสมบทเป็นนาคหลวงจำนวนมาก เจ้าอาวาสและเจ้าสำนักได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นราช ในราชทินนามว่าพระราชปริยัติโยดม

น้ำตกแม่แก้ น้ำตกแม่แก้ ตั้งอยู่ในเขต บ้านแม่แก้ อำเภองาว จังหวัดลำปาง เป็นน้ำตกขนาดเล็กตั้งอยู่บริเวณ เป็นน้ำตกหินปูนที่มีความสวยงาม อีกแห่งหนึ่งของอำเภองาว สูงประมาณ 10เมตรและยังมีชั้นเล็ก ๆ อีก 6 - 7ชั้น มีความอุดมสมบูรณ์ทางระบบนิเวศน์มาก
น้ำตกเกาฟุ น้ำตกเกาฟุ อยู่ที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง อยู่ไม่ไกลจากน้ำตกแม่แก้ เป็นน้ำตกที่สวยงามที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ โดยใช้เวลา สร้างนานนับสิบปี ที่นี่เป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ ชื่อของน้ำตกตั้งตามชื่อชาวไทยภูเขา ชื่อ เกาฟุ ซึ่งเป็นคนพบน้ำตกนี้เป็นคนแรก
หล่มภูเขียว ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท เป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่อยู่บนภูเขา มีเนื้อที่ประมาณ 1-2 ไร่ มีลักษณะคล้ายปล่องภูเขาไฟ น้ำในแอ่งลึกมากจนมองเห็นเป็นสีเขียว มีปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก สภาพป่าเป็นป่าดิบแล้งมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก การเดินทาง หล่มภูเขียวอยู่ห่างจากทางหลวงแผ่นดินดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) จากเส้นทางสายลำปาง-พะเยา เข้าไป ประมาณ 14 กิโลเมตร ซึ่งเป็นทางแยกไปสู่หมู่บ้านอ้อน อำเภองาว จังหวัดลำปาง เส้นทางเป็นทางลูกรัง จากบ้านอ้อน มีทางเดินเท้าไปหล่มภูเขียว;ระยะทางประมาณ 3.5 กิโลเมตร
หมู่บ้านชาวเขา ชมวัฒนธรรมวิถีชีวิตของชาวเขา รวมทั้งการแสดงชนเผ่าของชนเผ่าอาข่า บ้าน ป่ากล้วย
อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท ตั้งอยู่ระหว่างอำเภอเมืองลำปางกับอำเภองาว ห่างจากตัวเมืองประมาณ 66 กิโลเมตร ตรงกิโลเมตรที่ 768-769 แยกเข้าทางลูกรัง ประมาณครึ่งกิโลเมตร รถยนต์เข้าถึงเชิงถ้ำภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก สลับซับซ้อนและมีถ้ำเล็กถ้ำน้อยมากมายที่มี ความสวยงามแตกต่างกันไปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยเสด็จประพาสถ้ำผาไทในครั้งนั้นได้จารึกพระปรมาภิไธย ย่ปปร. ไว้ภายในถ้ำเพื่อเป็นที่ระลึกในการเสด็จประพาส นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชม ทางอุทยานฯ ไม่มีบ้านพักบริการ รายละเอียดให้ติดต่อฝ่ายจัดการอุทยานแห่งชาติ
การเดินทาง ถ้ำผาไทตั้งอยู่บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 เป็นเส้นทางจากตัวลำปาง-เชียงราย อยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 665 ห่างจากตัวจังหวัดลำปางมาทางจังหวัดพะเยา ประมาณ 65 กิโลเมตร หรือจะเดินทางโดยใช้เส้นทางสาย แพร่-งาว-เชียงราย ก่อนถึงอำเภองาว แยกซ้ายเข้าสู่จังหวัดลำปางประมาณ 15 กิโลเมตรถึงที่ทำการอุทยานฯ
พิพิธภัณฑ์หนังกลางแปลง พิพิธภัฑ์ภาพยนตร์ย้อนยุคซึ่งสร้างคุณโดย คุณมานิตย์ วรฉัตร ด้วยเงินทุนของตนเอง ในอดีตคุณมานิตย์เคย ทำงานเป็น นักพากย์หนังกลางแปลงมาแล้วมากมาย รวมทั้งเป็นทีมงานพากย์พันธมิตร ที่ให้เสียงพากย์ภาพยนตร์มากมาย ภายในพิพิธภัณฑ์ เป็น ลที่เก็บรวบรวมภาพบนตร์ไทยเรื่องดีและดัง โปสเตอร์หนัง รวมทั้งอุปกรณ์ในการฉายหนังกลางแปลง ประเภทต่างๆ
ศาลเจ้าพ่อประตูผา อยู่ห่างจากตัวจังหวัดลำปางตามเส้นทางสายลำปาง-งาวประมาณ 50 กิโลเมตร ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 649-650 ศาลตั้งอยู่ริมถนน ใหญ่ด้านขวามือ เป็นศาลเล็กๆ ก่ออิฐถือปูน ภายในมี รูปปั้นเจ้าพ่อประตูผา และเครื่องบูชามากมาย บริเวณใกล้เคียงมี ศาลพระภูมิ เล็กๆ มากมายเรียงรายอยู่ ศาลเจ้าพ่อประตูผา นี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ที่สัญจรไปมาบนเส้นทางนี้มักแวะนมัสการและ จุดประทัดถวาย เจ้าพ่อประตูผา เดิมชื่อ พญาข้อมือเหล็ก เป็นผู้อยู่ยงคงกระพัน เป็นทหารเอก ของเจ้าผู้ครองนครลำปาง ครั้งหนึ่ง ได้ทำการ ต่อสู้กับพม่าที่ช่องประตูจนกระทั่งถูกรุมแทงตายในลักษณะถือดาบคู่ ยืนพิงเชิงเขาทหารพม่า กลัวจึงไม่กล้าบุกเข้าไปตี นครลำปาง ด้วยเหตุนี้เอง ชาวบ้านจึงเกิดศรัทธา และเคารพ สักการะโดย ตั้งศาลขึ้นบูชา
ภาพเขียนสีโบราณประตูผาระยะทาง 48 กิโลเมตร จากลำปาง บนถนนไฮเวย์ลำปาง-เชียงราย เป็นที่ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาและ หน้าผาสูงชัน ซึ่งเป็นที่มาของ ชื่อ "ประตูผา" เส้นทางสัญจร แต่โบราณไปมาสู่ล้านนาตะวันออก และยังเป็น จุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญทั้งใน สงครามยุคโบราณ กับพม่าและในสงครามโลก บนหน้าผาและบริเวณใกล้เคียงมีการค้นพบ ภาพเขียนสีและแหล่ง ฝังศพของคนในยุคก่อน ประวัติศาสตร์ อายุประมาณกว่า 3,000 ปีมาแล้ว ขณะนี้ทางภาครัฐ ท้องถิ่นและเอกชน ในจังหวัด กำลังร่วมกันจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและศึกษาด้านประวัติศาสตร์ และโบราณคดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น